การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการขึ้นรูปแบบความแม่นยำสูงของส่วนประกอบเชิงแสงโดยใช้การวิเคราะห์การจำลองด้วย Moldex3D

on 2015-04-29

ข้อมูลลูกค้า
 e-ntust

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประเทศไต้หวัน (NTUST) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1974 โดยเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงแห่งแรกในไต้หวันที่มุ่งเน้นเฉพาะในด้านการศึกษาทางด้านเทคนิคและวิชาชีพ เป้าหมายของสถาบัน คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการพัฒนาวิศวกรและบุคลากรรุ่นต่อไปให้มีทักษะสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทิ่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยการขยายหลักสูตรที่แตกต่างกันตั้งแต่รากฐานของสถาบันการศึกษา (ที่มา: www-e.ntust.edu.tw

 

 

บทสรุปการบริหาร

 

ความต้องการของตลาดในการฉีดขึ้นรูปแบบความแม่นยำสูงสำหรับชิ้นงานโปร่งแสงกำลังเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องความโปร่งแสงที่เข้มงวด การหลีกเลี่ยงปัญหาความเค้นตกค้าง การบิดเบี้ยวของชิ้นงาน และรอยยุบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ห้องปฏิบัติการการผลิตที่มีความแม่นยำ (PML) ที่ NTUST จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนากระบวนการ In-Mold Micro Compression (IMMC) เพื่อรับมือกับความท้าทายทางด้านความโปร่งแสงดังที่กล่าวไว้ข้างต้นและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการฉีดขึ้นรูป โดยทาง PML ได้ใช้ Moldex3D injection compression solution เพื่อจำลองและประเมินผลกระทบและประสิทธิผลของกระบวนการ IMMC  จากผลการจำลอง พบว่า กระบวนการ IMMC สามารถลดรอยยุบและการหดตัวเชิงปริมาตรได้อย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มประสิทธิภาพการรวบรวมแสง กรณีนี้ยังแสดงให้เห็นว่า Moldex3D ให้ผลการจำลองที่สัมพันธ์กับชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปจริงเป็นอย่างดี

 

ความท้าทาย

 

  • การกระจายความดันไม่สม่ำเสมอ
  • อัตราการหดตัวสูง
  • การบิดเบี้ยว

 

วิธีแก้ปัญหา

 

ใช้  Moldex3D Injection Compression simulation solution เพื่อประเมินและยืนยันประสิทธิภาพของกระบวนการ IMMC

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

 

  • มีการกระจายความดันสม่ำเสมอ
  • ความส่องสว่างดีขึ้น 7.35%
  • ลดอัตราการหดตัวเชิงปริมาตรจาก 6.62% เหลือ 4.25%

กรณีศึกษา

 

optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-1รูปที่ 1. อาร์เรย์ปริซึมพลาสติกเป็นชื้นส่วนแสงพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อรวบรวมแสง

 

ในกรณีนี้ ห้องปฏิบัติการ PML พยายามที่จะตรวจสอบความเป็นไปได้ในการใช้ In-Mold Micro Compression เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของอาร์เรย์ปริซึมพลาสติก อาร์เรย์ปริซึมเป็นชิ้นส่วนแสงพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อรวบรวมแสงแดด เนื่องด้วยโครงสร้างของอาร์เรย์ปริซึม ตำแหน่ง gate จึงถูกวางไว้ที่บริเวณผนังบางซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของการไหลและมีการการหดตัวเชิงปริมาตรมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาในการรวบรวมแสง การส่งผ่านแสง และปริมาณแสงที่ได้  ดังนั้นห้องปฏิบัติการ PML จึงตัดสินใจที่จะใช้ซอฟต์แวร์การจำลองการขึ้นรูป Moldex3D ในการช่วยระบุกระบวนการฉีดขึ้นรูปที่ดีที่สุดเพื่อลดความเค้นตกค้างและการหดตัวเชิงปริมาตร

 

optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-2
รูปที่ 2. ชิ้นส่วนแสงมี 2 รอยเว้าซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของการไหล

 

ในตอนแรกห้องปฏิบัติการ PML ใช้ Moldex3D เพื่อจำลองกระบวนการฉีดขึ้นรูปแบบดั้งเดิม ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าดัชนีของรอยยุบสูงขึ้นในส่วนที่หนากว่า(รูปที่ 3-ซ้าย) เนื่องจากอุณหภูมิหลอมเหลวสูง ผิวจึงถูกดึงเข้ามาด้านในส่งผลให้เกิดรอยยุบขึ้น และผลการจำลองรอยยุบยังชี้ให้เห็นว่า ที่ปลายชิ้นงานจะเกิดการหดตัวสูงกว่าบริเวณอื่น(รูปที่ 3)

 

optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-3รูปที่ 3. ค่าดัชนีรอยยุบ(ซ้าย) และระยะการเคลื่อนที่ของรอยยุบ(ขวา) ในขั้นตอนการอัดย้ำ

 

หลังจากจำลองกระบวนการฉีดขึ้นรูป ทางห้องปฏิบัติการได้ใช้ Moldex3D ทดสอบแนวคิดเรื่องการใช้กระบวนการใหม่ ซึ่งได้แก่ IMMC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของชิ้นงาน จากผลการวิเคราะห์การจำลอง พบว่า การหดตัวเชิงปริมาตรของชิ้นงาน IMMC(รูปที่ 4) ลดลง 18.9% เมื่อเทียบกับชิ้นงานฉีดขึ้นรูป(รูปที่ 4) สำหรับปัญหาการบิดเบี้ยวของชิ้นงาน พบว่า IMMC ยังปรับปรุงระยะการเคลื่อนที่ในแนวแกน Z ได้ถึง 71%(รูปที่ 5)

 

 (a)  (b)
 optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-4 optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-5

รูปที่ 4. การวิเคราะห์การอัดย้ำแสดงการหดตัวเชิงปริมาตรสูงสุดของ (a) ชิ้นงานที่ฉีดขึ้นรูปมีค่าอยู่ระหว่าง -2.9%~2.323%; (b) ชิ้นงาน IMMC มีค่าอยู่ระหว่าง -3.7%~0.69%

 

 (a)  (b)
 optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-6 optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-7

รูปที่ 5. การวิเคราะห์การบิดเบี้ยวแสดงระยะการเคลื่อนที่ในแนวแกน Z ของ (a) ชิ้นงานที่ฉีดขึ้นรูปมีค่าอยู่ระหว่าง -1.497~0.701mm (b) ชิ้นงาน IMMC มีค่าอยู่ระหว่าง -0.325~0.311mm

 

เมื่อเปรียบเทียบการวิเคราะห์ total fringe pattern(รูปที่ 6) ระหว่างกระบวนการขึ้นรูป 2 แบบ โดยใช้ Moldex3D พบว่า บริเวณใกล้ gate ของชิ้นงานฉีดขึ้นรูปมี fringe pattern ที่สังเกตเห็นได้ชัดกว่า จากการวิเคราะห์แสดงว่า ชิ้นงานเชิงแสงที่ฉีดขึ้นรูปมีความเค้นตกค้างมากซึ่งถูกเหนี่ยวนำด้วยความดันการอัดย้ำสูงที่สูงขึ้น สำหรับชิ้นงาน IMMC มี fringe pattern ที่เห็นได้ชัดน้อยกว่าในบริเวณที่ใกล้ gate เนื่องจาก in-mold compression สามารถช่วยลดความดันบริเวณใกล้ gate

 

 optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-8 optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-9

รูปที่ 6. ผลการวิเคราะห์ total fringe pattern ระหว่างชิ้นงานที่ฉีดขึ้นรูป(ซ้าย) และกระบวนการ IMMC(ขวา)

 

จากนั้นห้องปฏิบัติการ PML ได้ดำเนินการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของผลการจำลองที่ทำนายกับชิ้นงานที่ขึ้นรูปจริงเพื่อตรวจสอบการใช้งานการวิเคราะห์แบบจำลอง จากผลการวิเคราะห์รอยยุบทำนายได้ว่า จะมีรอยยุบปรากฏขึ้น ซึ่งผลจากการทำนายสอดคล้องกับผลการทดลองเป็นอย่างดี(รูปที่. 7) นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบผลการจำลองของ IMMC กับผลการทดลองจริง สำหรับรูปที่ 8 แสดงให้เห็นว่ากระบวนการ IMMC ประสบความสำเร็จในการกำจัดรอยยุบและผลิตชิ้นส่วนเชิงแสงได้โดยไม่มีข้อบกพร่อง

 

optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-10รูปที่ 7. ผลการวิเคราะห์รอยยุบของ Moldex3D สอดคล้องกับผลการขึ้นรูปจริง

 

optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-11
รูปที่ 8. ชิ้นงานที่ผลิตด้วยกระบวนการ IMMC ไม่มีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญ

 

สรุป

 

ห้องปฏิบัติการใช้ไฟ LED เพื่อตรวจสอบชิ้นงาน โดยได้ค่าความส่องสว่างเฉลี่ยของชิ้นงาน  IMMC และชิ้นงานจากกระบวนการฉีดขึ้นรูปเท่ากับ 299Lux และ 321Lux ตามลำดับ ซึ่งความส่องสว่างที่ได้รับการปรับปรุงดีขึ้น 7.35%

 

เมื่อไม่นานนี้ ทางห้องปฏิบัติได้ตรวจสอบผล fringe pattern ของทั้งสองกระบวนการ รูปที่ 9 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผลการวิเคราะห์แบบจำลองของ fringe pattern และผลการทดลองใช้แม่พิมพ์จริง

 

ผลการจำลองสอดคล้องกับผลที่ได้จากการทดลองจริงเป็นอย่างดีซึ่งแสดงให้เห็นว่า Moldex3D simulation solution สามารถจำลองได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยในการเพิ่มประสิทธิผลของกระบวนการฉีดขึ้นรูปส่วนประกอบเชิงแสง นอกจากนี้ การใช้ Moldex3D simulation solution ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบในการทดลองแม่พิมพ์จริงอีกด้วย

 

optimizing-high-precision-molding-process-of-optical-components-using-moldex3d-cae-simulation-analysis-12
รูปที่ 9. ผล fringe pattern จากการจำลองโดย Moldex3D(ซ้าย) สอดคล้องกับผลการวัดค่าจริงเป็นอย่างดี


深入瞭解Moldex3D

與專家討論您的模具問題與模流分析需求

線上展示服務

提供最即時的線上技術支援與產品展示服務