เมื่อให้ความร้อนแก่เทอร์โมเซตติงเรซินจะเริ่มเกิดพอลิเมอร์ไรเซชั่นขึ้น สารทําให้เกิดการเชื่อมโยง (cross-linking agents) จะช่วยให้เกิดจุดที่ทำปฏิกิริยาเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุล (Cross-linking) และโครงสร้างตาข่ายขึ้นรอบๆหมู่ฟังก์ชั่นของ reactive components การ crosslink จะช่วยสนับสนุนให้สายโซ่พอลิเมอร์เกิดโครงสร้าง 3 มิติขึ้น
Post cure เป็นกระบวนการนำชิ้นงานหรือแม่พิมพ์ไปอบที่อุณหภูมิสูงเพื่อเร่งกระบวนการ cure และเพิ่มสมบัติทางกายภาพบางสมบัติของวัสดุให้สูงขึ้นมากที่สุด Post cure จะเร่งกระบวนการ crosslink และทำให้โมเลกุลของพอลิเมอร์จัดเรียงตัวอย่างเหมาะสม ดังเช่น tempering steel เทอร์โมเซตแบบ post cure สามารถเพิ่มสมบัติทางกายภาพ (เช่น ความแข็งแรงต่อการดึง ความแข็งแรงต่อการโค้งงอ และอุณหภูมิการคงรูปทางความร้อน) ให้เหนือกว่าสมบัติโดยปกติที่ควรเป็นของวัสดุ ณ อุณหภูมิห้อง (https://www.hapcoweb.com/faqs_postcure.htm)
Moldex3D Post Curing (Post Mold Cure, PMC) analysis ไม่เพียงแต่สนับสนุนกระบวนการ post cure ปกติ แต่ยังสามารถใช้ในขั้นตอน in-mold-cure (IMC) ได้อีกด้วย โดยเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการช่วยผู้ใช้ในเรื่องการศึกษาสภาพการ cure และยืนยันในความแข็งแรงเชิงกายภาพ
สมบัติ PVTC และ viscoelastic เป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับข้อมูลวัสดุ กรหดตัวจากการ Cure ของอีพอกซี่เป็นพารามิเตอร์ที่มีนัยสำคัญสำหรับ IC packaging สมการ P-V-T-C ถูกทดสอบเพื่อยืนยันว่าการบิดงอของชิ้นงานนั้นเกิดจากการหดตัวทางความร้อนและการหดตัวจากการ cure นอกจากนี้สมบัติ viscoelastic ยังเป็นพารามิเตอร์สำคัญในทั้งกระบวนการ PMC และ IMC อีกด้วย
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างวิธีการตั้งค่าการวิเคราะห์กระบวนการ Post Mold Cure ใน Moldex3D R14:
ขั้นที่ 1. เปิดการตั้งค่า Computation Parameter จากนั้นคลิกแท็บ Stress และเลือก Analysis เป็น Type Post Curing
ขั้นที่ 2. เลือกการตั้งค่า Stress Boundary และคลิก Edit ซึ่ง Moldex3D Designer จะเปิดขึ้นมาโดยตรงเพื่อให้แก้ไขเงื่อนไขขอบเขต (boundary condition editing)
ตั้งค่า boundary และคลิก OK เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว
(Tip: ทำตามขั้นตอนด้านล่างและตั้งค่าจุดฐาน (base point) โดยผลของ displacement จะอ้างอิงจากจุดฐานนี้ เลือกจุดเชิงตั้งฉาก(orthogonal points) 3 จุด จุดแรกให้ตรึงไว้ 3 ทิศทาง จุดที่สองให้ตรึงทิศทาง x และ z และจุดที่สามให้ตรึงแค่ทิศทาง z)
ขั้นที่ 3. คลิก Annealing Calculation setting และกรอกข้อมูลใน “Initial temperature”, “Time increment” และ “Annealing time”. “Time increment” คือ ช่วงการทวนซ้ำการวิเคราะห์
ขั้นที่ 4. เปิดหน้าการตั้งค่า Ambient temperature vs. time และแก้ไขข้อมูลตามกระบวนการ post cure
ขั้นที่ 5. คลิก Multiple time steps output setting โดยผู้ใช้สามารถกำหนดจำนวนขั้นเวลาและแก้ไขค่าในแต่ละขั้นเวลาต่อช่วงเวลาที่แน่นอนได้
(Tip: Output Time ควรสัมพันธ์กับ “Time increment”)
ขั้นที่ 6. ตรวจสอบรายละเอียดของ “Consider viscoelastic material property in stress analysis” และป้อนข้อมูลสำหรับ Time-Temperature superposition ในที่นี้ Moldex3D ยังสนับสนุนสมการ WLF ด้วย
(Tip: ผู้ใช้สามารถใช้ค่าเริ่มต้นสำหรับสมการ WLF)
ขั้นที่ 7. เปิด Generalized Maxwell Model setting
ให้ป้อนข้อมูลพารามิเตอร์ตามสมบัติของวัสดุและตรวจสอบกราฟในหน้าต่าง
ขั้นที่ 8. เปิด Curing Shift Factor
ให้ป้อนข้อมูลพารามิเตอร์ตามสมบัติของวัสดุ และตรวจสอบกราฟในหน้าต่าง
ขั้นที่ 9. คลิก 2 ครั้งที่ Analysis sequence setting และเลือกการวิเคราะห์เป็น Stress-S analysis.
(Tip: สำหรับการวิเคราะห์ in-mold-curing ผู้ใช้ควรจะทำการวิเคราะห์ของ Filling มาก่อนที่จะทำการจำลอง stress เพื่อให้แน่ใจว่าการสิ้นสุดของสถานะ filling จะถูกนำมาพิจารณาในการวิเคราะห์ in-mold-curing analysis ในทางตรงข้าม ผู้ใช้จำเป็นต้องทำการ Filling และ Curing ก่อนการวิเคราะห์ Post Mold Cure